WeChat ID :
ราคาบ้าน luxury ในตลาด
แน่นอนว่าถ้าเรามาดูต้นทุนที่แท้จริง
ราคาที่เปิดขาย
อาจจะดูแล้วไม่คุ้มค่า
สำหรับคนที่รู้ที่มา
.
ถึงแม้ว่าลูกค้าจะมีกำลังซื้อมาก
แต่คำว่า "แพง"
อาจทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า
บ้านมีราคาสูงเกินไป
เมื่อเทียบกับคุณค่าที่ควรจะเป็น
.
คำที่ควรใช้คือ “คุ้มค่า”
เพื่อชี้ให้เห็นถึงคุณค่า
ที่ลูกค้าควรได้รับ
เช่น การออกแบบ การตกแต่ง วัสดุที่ใช้
หรือทำเลที่โดดเด่น
.
"พรีเมี่ยม"
แสดงให้เห็นว่าบ้านถูกสร้าง
ด้วยวัสดุคุณภาพ
มี story telling
ที่สามารถบอกเรื่องราวได้ทุกจุด
พยายามลงรายละเอียดว่า
ทุกสิ่งอย่างที่ลูกค้าเห็นในบ้านหลังนี้
ผ่านกระบวนการคิดอย่างละเอียด
เพื่อฟังก์ชันที่ตอบโจทย์กับชีวิตลูกค้า
#ถ้าถูกใจไม่มีคำว่าแพง
.
.
.
เซลล์หลายคนจะชอบคิดว่า
การนำเสนอราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด
จะเป็นสิ่งที่ช่วยในการตัดสินใจของลูกค้าได้ง่ายขึ้น
.
แต่คนที่ซื้อของระดับ Luxury กลับไม่คิดแบบนั้น
คนพวกนี้ต้องการความที่เหนือระดับกว่าคนทั่วไป
.
ดังนั้นการที่พูดว่า”ถูก”
จะเป็นการดึงความรู้สึกของลูกค้า
ให้เหมือนกับว่าบ้านที่กำลังเสนอขายอยู่นั้น
ไม่ได้แตกต่างอะไรจากบ้านตามท้องตลาด
.
หรืออาจจะมองว่า
บ้านนี้มีอะไรซ่อนเร้นแอบแฝง
โดยที่ลูกค้าไม่รู้อยู่รึเปล่า
อาจจะคิดไปถึงเรื่อง
พลังงานเหนือธรรมชาติก็เป็นได้
.
ดังนั้นคำที่ควรใช้คือ
“คุ้ม” ”คุ้มค่า““ตัดสินใจไม่ยาก”
.
ลูกค้าที่มีกำลังซื้อส่วนมาก
มักจะไม่ชอบความรู้สึกที่คิดว่า
ตัวเองกำลังวู่วาม
จนตัดสินใจผิดพลาด
.
การใช้คำว่า “ราคาคุ้มมาก” “ราคานี้ตัดสินใจไม่ยาก”
มันเป็นคำที่ดูมีกระบวนการมากกว่า
คิด,วิเคราะห์ออกมาแล้ว
.
จนทำให้ลูกค้าคิดว่า
การตัดสินใจนี้คือถูกต้องแล้ว
ที่จะเลือกซื้อบ้านในราคานี้
.
.
.
คำนี้มักจะได้ยินบ่อย
ในตลาดบ้านที่ราคาไม่สูงมาก
เพื่อเร่งการตัดสินใจของลูกค้า
.
แต่การพูดคำนี้
โดยที่ลูกค้ายังไม่ได้ถามถึง
ทำให้ลูกค้ามองว่า
บ้านนี้กำลังถูกตั้งด้วยราคาที่สูงเกินจริง
ลูกค้าจะเริ่มสงสัยในมูลค่าที่แท้จริงของบ้าน
และจะเป็นสารตั้งต้น
ที่ลูกค้าจะต่อราคากับเอเจ้นท์แบบหน้าสั่น
.
ดังนั้นจึงไม่ควรใช้คำนี้ตั้งแต่เริ่ม
ถ้าเค้ายังไม่ได้อยู่ในจุดที่สนใจ
จนถามถึงเรื่องราคา
.
การเปิดประตูลดราคา
จึงไม่ควรเปิดให้ลูกค้าได้ทราบตั้งแต่แรก
เพราะราคาที่ลดได้นั้น
จะดูไร้ความหมายทันที
.
ระหว่างเสนอขาย
จึงอยากให้เน้นเรื่องของคุณค่า
และความคุ้มค่าของตัวสินค้า
.
Present คุณภาพและความพิเศษของบ้าน
ให้สอดคล้องกับราคาที่เปิดไว้
และเมื่อลูกค้าถามถึง
จึงค่อยถามถึงราคาที่ลูกค้าพร้อมจบ
.
.
.
เราจะได้ยินคำนี้
กับการปิดการขายบ้านที่มีการ demand สูง
เช่น Length ซื้อขาย 1-3 ล้าน
หรือ Length ค่าเช่า 8,000-15,000 บาท
.
เทคนิคการให้ลูกค้ากลัวการสูญเสีย
อาจจะใช้ได้กับคนทั่วไป
แต่ลูกค้าระดับบนไม่ควรใช้คำพวกนี้
เพราะลูกค้าคิดว่า
เค้ามีเงินที่มากพอ
ที่จะซื้อบ้านในราคาเท่าไหร่ก็ได้
.
และบ้านระดับบน
ก็ไม่ได้มีสภาพคล่อง
ที่ไวเหมือนบ้านระดับล่าง
ดังนั้นเค้าจึงไม่ชอบคำ
ที่เหมือนถูกเร่งรัดหรือกดดัน
.
เค้าอาจจะชอบบ้าน
แต่เมื่อ mood ของลูกค้ามันเริ่มไม่ได้
ลูกค้าจะไม่สนใจบ้านไปโดยปริยาย
.
คำนี้ไม่ถึงกับใช้ไม่ได้
แต่ต้องเลือกใช้ให้ถูกจังหวะและ timing
.
วิธีการสื่อสารที่ดีกว่านี้
คือให้ข้อมูล base on ความสนใจจากลูกค้า
อย่างสุภาพและใจเย็น
เน้นย้ำว่าพร้อมให้ข้อมูลเพิ่มเติม
ถ้าหาลูกค้าต้องการ
ติดขัดในข้อมูลหรือรายละเอียดเรื่องใด
เอเจ้นท์พร้อมยินดีให้บริการ
.
เมื่อลูกค้าอิ่มกับข้อมูลที่ให้ไปทั้งหมดแล้ว
จึงค่อยใช้การเร้าเรื่องราคา
เพื่อกระชับการตัดสินใจ
.
.
.
คำพวกนี้สื่อถึงข้อจำกัด
บ้านดูไม่น่าดึงดูด
และดูเหมือนถูกลดทอนคุณค่า
เกิดความไม่สะดวกสบายในเชิงจิตวิทยา
อาจจะขัดกับความรู้สึกของคนที่ต้องการบ้านหรู
ที่บ้านจะต้องตอบโจทย์กับทุกสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
.
ดังนั้นจึงควรใช้คำที่ให้ความรู้สึกว่า
Sizing ที่ให้ไป
คือสิ่งที่จัดสรรพื้นที่มาแล้ว
อย่างมีประสิทธิภาพ
เช่น “อบอุ่น”,กะทัดรัด”,”compact size”,”ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ประโยชน์ได้จริง”
.
เพิ่มเพื่อความรู้สึกถึงความเป็นส่วนตัว
และการออกแบบที่ลงตัว
สื่อถึงการจัดสรรพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
.
เช่น ถ้าระเบียงห้องนอนเล็ก
อาจจะใช้คำว่า
“ขนาดของระเบียงถูกออกแบบมา
เพื่อเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ได้จริง
เพราะจากการเก็บข้อมูลพบว่า
ลูกค้ามักไม่ได้ใช้ประโยชน์
ของระเบียงห้องนอนมากนัก
เราจึงลดขนาดพื้นที่ของระเบียง
มาเพื่อเพิ่มขนาดในพื้นที่ห้องนอน”
ดูจะมีคุณค่ามากกว่า
.
.
.
เซลล์หลายคนจะชอบแจ้งลูกค้าว่า
“บ้านถูกสร้างตามแบบมาตรฐานทุกอย่าง”
แต่รู้มั้ยว่าคำพวกนี้
กำลังลดคุณค่าและความพิเศษของบ้าน
.
เพราะลูกค้าระดับนี้
ไม่ได้ต้องการความธรรมดา
เค้าหวังว่าบ้านที่อยู่
จะต้องมีความแตกต่างมากกว่าทั่วไป
ที่คนทั่วไปไม่สามารถมีได้
.
คำว่า”ตามปกติ”
เหมือนเป็นสิ่งที่ไม่ได้มีอะไร
เหนือไปกว่าสิ่งที่ลูกค้าคาดหวัง
ทำให้ดูไม่มีคุณค่าแตกต่างจากบ้านหลังอื่น
.
ดังนั้นเราจึงต้องเน้นไปถึงเรื่องความมั่นใจ
ว่าบ้านเค้าจะไม่มีปัญหา
หลังจากที่ลูกค้าได้รับบ้านไปแล้ว
.
นั่นคือจึงต้องเสริม
ของการพูดถึงเรื่อง After Service
หรือการรับประกันในส่วนของตัวบ้าน
.
1 วันของการหารายได้ของลูกค้า
กับ 1 วันของการต้องมาแก้ปัญหาบ้าน
มูลค่าแตกต่างกันมาก
.
ถ้าเกิดปัญหาใดๆขึ้นมา
เจ้าของบ้านจะต้องไม่เสียเวลามาวุ่นวาย
ในการประสานงานซ่อมหรือตามหาช่าง
เพื่อให้บ้านกลับมาอยู่ในสภาพเดิม
.
.
.
คนขายบ้านหรูหลายคน
จะต้องทำการบ้านเกี่ยวกับข้อมูลมากกว่าบ้านทั่วไป
เพราะไม่ใช่แค่การรู้ข้อมูลของบ้านเท่านั้น
เราต้องทำการบ้านในทำเลโดยรอบด้วย
สถานที่สำคัญ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ทางด่วน ร้านอาหารอร่อยๆ
ที่เซลล์จะต้องมีความรอบรู้
เหมือนกับอยู่แถวนี้มานาน
แล้วจะสามารถให้ข้อมูลได้อย่างแม่นยำและชัดเจน
.
การใช้คำตอบที่ดูเหมือนไม่มั่นใจในข้อมูลที่มี
จะทำให้ลูกค้ามองว่า
เซลล์ไม่สามารถให้ข้อมูลที่ครบถ้วนได้
ซึ่งความรู้สึกจะลากไปถึงบ้านที่กำลังขายด้วย
เพราะเค้ายังได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน
จึงทำให้ลูกค้าต้องเพิ่มเวลาในการตัดสินใจมากขึ้น
หรืออาจจะไม่สนใจบ้านหลังนั้นเลยก็เป็นได้
.
.
.
บ้านบางเป็นบ้านที่ดี ราคาดี
แต่อาจจะด้วยเรื่องของทำเล
ที่อาจจะอยู่ในซอย
ประกอบกับการที่ google map
พาเข้าเส้นทางที่ซับซ้อน
ทำให้การมาครั้งแรกของลูกค้า
ไม่เกิดความประทับใจในเรื่องของทำเล
รู้สึกเหมือนบ้านหลังนี้จะเดินทางลำบาก
.
เหมือนมาถึงตัวบ้านแล้ว
เซลล์ยังตอกย้ำความ “ลึก-ไกล-เปลี่ยว” เข้าไปอีก
ทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยในการเดินทาง
ยิ่งถ้ามาในรูปแบบครอบครัว หรือมีเด็กเล็ก
โอกาสการปิดการขายแทบจะเข้าใกล้ 0
.
ดังนั้นการเลือกใช้คำว่า “สงบเงียบ” “ส่วนตัว”
อาจจะเพิ่มความรู้สึกในเชิงบวกมากขึ้น
ให้เน้นเรื่องของความเป็น private
และพูดถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
เมื่อมาถึงบ้าน
ที่ดูแตกต่างกับความวุ่นวายในเมือง
ที่เจอมาทั้งวัน
.
.
.
คำว่าฟรี ใครๆก็ชอบ
แต่กับคนระดับบน
กลับไม่เป็นเช่นนั้น
เค้าจะรู้สึกว่า “ฟรี” ไม่ใช่สิ่งที่มีค่าใดๆ
และอาจจะเป็นสิ่งที่เค้าไม่ได้ต้องการด้วยซ้ำ
.
เพราะการซื้อบ้านหรูขนาดนี้
การที่จะได้อะไรมาฟรีเพิ่มอีกนิดหน่อย
เช่น การแถมแอร์ 2 ตัว แท้งน้ำ ปั้มน้ำ
ไม่ทำให้เค้ารู้สึก fullfill ได้
เหมือนคนซื้อบ้านทั่วไป
.
ดังนั้นการที่เราอยากจะให้อะไรกับลูกค้าเพิ่ม
ไม่จำเป็นต้องรีบเสนออะไร
ให้เค้าฟรีๆโดยง่าย
.
แนะนำให้ลองถามความต้องการ
ของลูกค้าดูก่อนว่า
บ้านหลังนี้ยังขาดอะไร
.
และถ้าเพิ่มสิ่งนี้เข้าไปแล้ว
จะเป็นสิ่งที่เพิ่มความเติมเต็มให้กับตัวบ้าน
จนลูกค้ารู้สึกว่า
บ้านดูสมบูรณ์
เหมาะสมกับคำว่า home sweet home
ได้อย่างแท้จริงหรือไม่
.
จากนั้นจึงค่อยเสนอของแถม
และสามารถจัดหาสิ่งนั้นให้ได้ตามที่ลูกค้าต้องการ
โดยที่ยังอยู่ใน budget ที่เราตั้งไว้
.
และย้ำไปว่า “ทั้งหมดที่ลูกค้าต้องการ เราไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม”
จะทำให้ลูกค้าดู feel better
มากกว่าการที่เราจะยัดของแถมให้กับลูกค้า
แล้วบอกว่าทั้งหมดนี้คือฟรี
.
.
.
หลังจากที่เราให้ข้อมูลลูกค้าอย่างเต็มที่แล้ว
ในจังหวะที่ลูกค้ากำลังประมวลผลอยู่
เซลล์หลายคนจะชอบหลุดปากกว่า
“เชื่อผมเถอะ มันดีจริงๆนะ”
“เชื่อหนูเถอะ มันคือสิ่งที่พิเศษสำหรับลูกค้าแล้ว”
.
คำพูดพวกนี้
เซลล์อาจจะต้องการแสดงความจริงใจ
เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
แต่เราก็ต้องตระหนักรู้อย่างนึงว่า
ในตอนนั้นเราคือเซลล์ขายบ้าน
ลูกค้าจะเชื่อเซลล์ทำไม
เพราะเซลล์มีผลประโยชน์กับการขาย
ไม่ว่าเซลล์จะพูดยังไง
ลูกค้าก็ต้องเอาคำพูดมาหารครึ่งเสมอ
.
ดังนั้นการที่จะให้ลูกค้ามาเชื่อเรา
ให้เราลองอ้างถึงลูกค้าอื่น
ที่มีจำนวนสมาชิกครอบครัว
หรือคาแรคเตอร์คล้ายกับลูกค้า
หรืออ้างถึงบุคคลที่มีชื่อเสียง
ที่ตัดสินใจมาพักอาศัยอยู่แถวนี้
.
ลูกค้าจะเปรียบเทียบตัวเองกับบุคคลอื่น
ดูจะมีราคาและมีน้ำหนักกว่าการที่เลือกจะเชื่อเซลล์