เอเจ้นท์มืออาชีพควรทำอะไร หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว 28 มีนาคม 2568

หลังแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในไทย เราได้เห็นบทบาทของเอเจ้นท์อสังหาในมุมใหม่ วิกฤติครั้งนี้พิสูจน์ว่า ใครคือ “เอเจ้นท์มืออาชีพ” ที่เจ้าของและลูกค้าควรพึ่งพาในยามวิกฤติ

post date  โพสต์เมื่อ 1 เม.ย. 2568   view 44218
article

หลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว

เราได้เห็นแล้วว่า

คอนโดตึกไหนได้ไปต่อ

คอนโดตึกไหนควรระวัง

.

สิ่งที่น่าชื่นชมอย่างนึง

คือ Developer ทุกเแบรนด์

ออกมา Action สำรวจหน้างาน

และให้ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับตัว product ตัวเอง

.

รอยแตกรอยร้าวที่เกิดขึ้น

ไม่ได้หมายความว่าตึกนั้นคุณภาพไม่ดี

มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตามปกติอยู่แล้ว

ตราบใดที่ตัวเสาและคาน

ซึ่งถือเป็นโครงสร้างหลักยังปกติอยู่

ภาพรวมก็ยังถือว่าไปต่อได้

.

แต่ก็ยังมีอีกมุมนึง

ที่ผมจะพูดถึง

ทั้งเจ้าของและลูกค้า

ควรพิจารณาในการหาที่อยู่

นั่นคือ #การเลือกเอเจ้นท์มาดูแล

.

เหตุการณ์แผ่นดินไหวในวันที่ 28 มีนาคม 2568

ถือเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่จำเป็นต้องรับมืออย่างรวดเร็ว

รอบคอบ และใส่ใจ

เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า

ทั้งเจ้าของทรัพย์และผู้เช่า

#โดยเอเจ้นท์ควรมีแนวทางการปฏิบัติอย่างไรบ้าง

.

1. เช็กความปลอดภัยของลูกค้าและทรัพย์สินทันที🧍‍♂️🔍

โทรหรือส่งข้อความหาผู้เช่าทุกราย

ที่อยู่ในพื้นที่เกิดเหตุ

เพื่อสอบถามความปลอดภัยของผู้พักอาศัย

และความเสียหายของตัวห้องพักหรืออาคาร

.

ถ้าลูกค้าอยู่ต่างประเทศ

ควรแจ้งสถานการณ์และข้อมูลล่าสุดเป็นภาษาอังกฤษด้วย

.

ตรวจสอบสภาพของทรัพย์ที่รับฝากขาย/ปล่อยเช่าโดยเร็ว

และถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐาน

.

.

.

2. ประสานงานกับนิติบุคคล / เจ้าของอาคาร🏢📞

ติดต่อฝ่ายนิติบุคคลของคอนโด

หรือเจ้าของอาคารให้เช่า

เพื่อสอบถามแผนการตรวจสอบอาคารและการซ่อมแซม

.

ขอรายงานหรือใบรับรองความปลอดภัย

จากวิศวกรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

.

ถ้ามีการอพยพ

ควรแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงสถานที่พักชั่วคราว

และระยะเวลาการเข้าพักได้อีกครั้ง

.

.

.

3. อัปเดตข้อมูลทรัพย์และสื่อการขาย/เช่า📊🖥

ถ้ามีความเสียหาย

ควร “พักการตลาด” ชั่วคราว

และอัปเดตสถานะของทรัพย์ในระบบ listing

เว็บไซต์ หรือโพสต์ต่างๆ

.

ถ้ามีทรัพย์ที่ยังปลอดภัย

และพร้อมอยู่อาศัย

ควรระบุไว้ชัดเจน

เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้เช่าหรือผู้ซื้อ

.

.

.

4. ให้คำแนะนำด้านประกันภัยและการเคลม📑🛡

สอบถามลูกค้าว่า

ได้ทำประกันภัยทรัพย์สินไว้หรือไม่

.

ถ้ามี

ควรช่วยประสานงาน

และให้คำแนะนำในการเตรียมเอกสารเคลม

.

ถ้ายังไม่มี

อาจแนะนำให้ทำประกันภัย

ที่ครอบคลุมภัยธรรมชาติในอนาคต

.

.

.

5. สื่อสารเชิงรุกอย่างมืออาชีพ🗣📢

โพสต์ข้อความให้ข้อมูลที่ถูกต้อง

เกี่ยวกับผลกระทบ

และแนวทางดูแลหลังแผ่นดินไหว

บนช่องทางโซเชียลของคุณ

.

เน้นความพร้อมในการช่วยเหลือ

ดูแลลูกค้า

และความใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ

เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ

.

หลีกเลี่ยงการโฆษณาเชิงพาณิชย์ในช่วงวิกฤต

เพราะอาจดูไม่เหมาะสม

.

.

.

6.เป็นตัวกลางในการเจรจา🤝⚖️

ภัยทางธรรมชาติ

ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ

แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว

เราควรเจรจากับเจ้าของและผู้เช่า

ว่าจะช่วยกันแบ่งเบาภาระกันอย่างไรได้บ้าง

ให้ดูไม่เป็นภาระของแต่ละฝ่ายจนเกินไป

.

เช่น การปรับลด หรือไม่เก็บค่าเช่า

ระหว่างการซ่อมแซมห้อง

.

ถ้าลูกค้าไม่สบายใจที่จะอยู่

ควรใช้สติและเหตุผลในการพูดคุย

.

เพราะตามหลักของตัวสัญญาเช่า

การที่ใช้คำว่า"ไม่สบายใจ"

อาจจะเป็นเหตุผลไม่เพียงพอที่จะแจ้งย้ายออก

และขอเงินประกันคืน

.

การที่จะย้ายออกได้โดยไม่ผิดสัญญานั้น

ควรมีใบรับรองจากทางวิศวกรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับรอง

ถึงจะสามารถย้ายออกได้

.

แต่ในเหตุการณ์แบบนี้

การคุยกันตามตัวสัญญาและกฏหมายอย่างเดียว

อาจจะต้องใช้วาทศิลป์ร่วม

เพราะมันคาบเกี่ยวกับคำว่ามนุษยธรรมด้วย

.

.

.

ข้อความด้านบน

เป็นส่วนของเอเจ้นท์ที่ควรจะทำ

.

และหลังจากนี้

ตัวของของเจ้าของและลูกค้าเอง

อาจจะต้องพิจารณาเอเจ้นท์เข้ามาช่วยดูแลลูกค้าเพิ่มขึ้น

.

โดยให้พิจารณาเอเจ้นท์ระหว่าง

อาชีพเอเจ้นท์ (Good Agent)

และเอเจ้นท์อาชีพ (Great Agent) ดังนี้

.

1.เช็กสถานการณ์ vs เช็กหัวใจ🧐🔁❤️‍🩹

Good Agent : อาจถามว่าห้องเสียหายไหม

Great Agent : จะถามก่อนว่า "คุณปลอดภัยดีไหมครับ?"

.

2.รอรายงานจากนิติ vs ลงพื้นที่ด้วยตัวเอง📩⌛️ vs 🚗🏃‍♂️

Good Agent : อาจรอฟังข่าวจากนิติ

Great Agent : เดินทางไปตรวจห้องลูกค้าเอง และส่งภาพ+สถานะให้แบบ real time

.

3.แนะนำให้เคลมประกัน vs ช่วยเตรียมเอกสารให้เลย📄💬 vs 🖋📎

Good Agent : อาจบอกขั้นตอนการทำประกันเพื่อเตรียมไว้ภายหลัง

Great Agent : “คิดแทน” ช่วยจัดการเบื้องต้นจนลูกค้าแทบไม่ต้องกังวล

.

4.อัปเดตทรัพย์ vs อัปเดตใจลูกค้า🏷🆙 vs 💬❤️

Good Agent : โพสต์ว่า “ห้องปลอดภัย”

Great Agent : โทรหา พูดคุย และพร้อมหา solution เผื่อมีการย้ายหรือพักชั่วคราว

.

5.ทำตามหน้าที่ vs ทำให้เกินคาด👔✅ vs 🌟🙌

ความแตกต่างระหว่าง

"Good Agent" กับ "Great Agent"

อยู่ที่รายละเอียดเล็กๆ

ที่ลูกค้าจะไม่มีวันลืม

ในวันที่ลูกค้าไม่มั่นใจ…

เขาจะจำได้ว่า

ใครคือคนที่อยู่ตรงนั้นเพื่อเขาจริงๆ

.

.

.

สุดท้ายนี้

เอเจ้นท์เองก็สามารถสร้างวิกฤติให้เป็นโอกาส

แสดงศักยภาพการดูแลและประสานงาน

มีความใสใจและห่วงใยเสมือนเป็น 1 ในครอบครัว

.

ให้เจ้าของและลูกค้า

ได้รับประสบการณ์ที่ดีกับเอเจ้นท์

ว่าการที่มีเอเจ้นท์ช่วยดูแลในยามวิกฤติ

มันดีกว่าการที่ตัวเจ้าของเอง

จะต้องมานั่งจัดการเองทั้งหมดอย่างไร

.

ตัวเอเจ้นท์เอง

จะได้พูดคุยกับตัวเองด้วยว่า

หลังจากที่ได้รับค่าวิชาชีพมาแล้ว

จริยธรรมในการประกอบอาชีพของอาชีพ

คุณมองสิ่งนี้ในลักษณะอย่างไร

.

แค่ได้ค่าคอมแล้วก็จบกันไป

เพราะถือว่าเป็นแค่การตลาดหาลูกค้า

.

หรือว่ามี Service Mind

อยู่ดูแล คอยประสานต่อจนครบสัญญา

.

ซึ่งตอนนี้ได้ยินหลายคนบ่นกัน

ว่าเอเจ้นท์ต่างชาติไม่ได้เข้ามาช่วยดูแลเลย

ทำให้เอเจ้นท์ไทยมีปัญหากับการประสานงาน

ที่จะติดต่อกับอีกฝั่ง

ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าหรือผู้เช่า

ที่มาจากเอเจ้นท์ต่างชาติ

.

เหตุการณ์นี้

เป็นโอกาสให้เอเจ้นท์ไทยแสดงฝีมือ

และได้แสดงสปิริตของวิชาชีพได้อย่างเต็มที่

ว่าเราดีกว่าเอเจ้นท์ต่างชาติอย่างไร

.

แน่นอนว่าการกระทำสิ่งเหล่านี้

ไม่มีถูกมีผิด

อาจจะเป็นแนวทางของเอเจ้นท์

หรือนโยบายของบริษัทอยู่แล้ว

.

แต่สิ่งที่จะตัดสินคุณ

อาจไม่ใช่กฏระเบียบของบริษัท

แต่การมุมมองและความรู้สึก

ของเจ้าของและลูกค้า

.

ขอให้ทุกคนผ่านช่วงวิกฤติไปได้ด้วยดี

กลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติกันทุกฝ่ายได้โดยไว

.

ร่วมพูดคุยกันได้ที่
https://www.facebook.com/Ex.MatchingProperty/posts/pfbid02X79jdna2TYfqkRwB6ZLHY1uufb6u1EcLLyfmTypg1AjRDYoaVj2NNpi9SLTEGrLDl

บทความที่เกี่ยวข้อง (3)